วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
อนุทินที่2
ความหมายของสมุนไพร
1.มีสรรพคุณรักษาโรคต่างๆได้
2.สามารถนำมาสกัดสารที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
3.สามารถนำมาปรุงอาหารได้
4.เป็นยาที่ได้จากส่วนต่างๆของพืช สัตว์และแร่ธาตุ
ประเภทของสมุนไพร
1.ใช้ราก/หัว... ขมิ้น ข่า ขิง กระชาย แห้ว
2.ใช้ใบ... ผักบุ้ง ผักหวาน กระเพราขาว,แดง ตะไคร้หอม ใบรา
3.ใช้ลำต้น... ตะไคร้หอม
4.ใช้เปลือกต้น... ตะไคร้หอม
5.ใช้เปลือกราก... มะขาม หญ้าคา
ประโยชน์ของสมุนไพร
1.ใช้รักษาโรคต่าง ๆ
2.ใช้ทำอาหาร
3.ใช้สกัดเป็นสีผสมอาหารหรือสีย้อมผ้า
4.ใช้กำจัดแมลง หรือไล่แมลง
5.ใช้เป็นเครื่องสำอาง
โทษของสมุนไพร
กระท่อม
โทษคือ กินแล้วทำให้ใจสั่น
วิธีป้องกันอันตราย คือ ศึกษาตำราก่อนใช้สมุนไพรบางชนิด
วิธีการเก็บสมุนไพรสด
1.แช่ในอุณหภูมิห้องที่พอเหมาะ
การทำสมุนไพรแห้ง
1.นำสมุนไพรมาล้างให้สะอาด
2.นำสมุนไพรมาตากแดด
3.นำมาหั่นหรือฝานให้เป็นชิ้น
4.นำมาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม
การเก็บรักษาสมุนไพรแห้ง
- เก็บสมุนไพรในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ชื่นเกินไป
สมุนไพรอาหาร
1. สมุนไพรที่ใช้ผลเป็นอาหาร คือ มะพร้าว มะม่วง มังคุด แตงโม ทุเรียน ส้ม
2. สมุนไพรที่ใช้ดอกเป็นยา คือ ดอกแค ดอกพิกุล ดอกอัญชัน ดอกกระเจี้ยบ
3. สมุนไพรที่ใช้รากเป็นอาหาร คือ ขิง ข่า ไพล กระทือ ขลู่ ขมื้น
สมุนไพรแมลง
1. ใช้สมุนไพรในการไล่แมลง
2. ใช้สมุนไพรในการฆ่าแมลง
3. ใช้สมุนไพรเป็นอาหารแมลง
4. ให้แมลงผสมเกสรกับพืชสมุนไพร
1.มีสรรพคุณรักษาโรคต่างๆได้
2.สามารถนำมาสกัดสารที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
3.สามารถนำมาปรุงอาหารได้
4.เป็นยาที่ได้จากส่วนต่างๆของพืช สัตว์และแร่ธาตุ
ประเภทของสมุนไพร
1.ใช้ราก/หัว... ขมิ้น ข่า ขิง กระชาย แห้ว
2.ใช้ใบ... ผักบุ้ง ผักหวาน กระเพราขาว,แดง ตะไคร้หอม ใบรา
3.ใช้ลำต้น... ตะไคร้หอม
4.ใช้เปลือกต้น... ตะไคร้หอม
5.ใช้เปลือกราก... มะขาม หญ้าคา
ประโยชน์ของสมุนไพร
1.ใช้รักษาโรคต่าง ๆ
2.ใช้ทำอาหาร
3.ใช้สกัดเป็นสีผสมอาหารหรือสีย้อมผ้า
4.ใช้กำจัดแมลง หรือไล่แมลง
5.ใช้เป็นเครื่องสำอาง
โทษของสมุนไพร
กระท่อม
โทษคือ กินแล้วทำให้ใจสั่น
วิธีป้องกันอันตราย คือ ศึกษาตำราก่อนใช้สมุนไพรบางชนิด
วิธีการเก็บสมุนไพรสด
1.แช่ในอุณหภูมิห้องที่พอเหมาะ
การทำสมุนไพรแห้ง
1.นำสมุนไพรมาล้างให้สะอาด
2.นำสมุนไพรมาตากแดด
3.นำมาหั่นหรือฝานให้เป็นชิ้น
4.นำมาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม
การเก็บรักษาสมุนไพรแห้ง
- เก็บสมุนไพรในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ชื่นเกินไป
สมุนไพรอาหาร
1. สมุนไพรที่ใช้ผลเป็นอาหาร คือ มะพร้าว มะม่วง มังคุด แตงโม ทุเรียน ส้ม
2. สมุนไพรที่ใช้ดอกเป็นยา คือ ดอกแค ดอกพิกุล ดอกอัญชัน ดอกกระเจี้ยบ
3. สมุนไพรที่ใช้รากเป็นอาหาร คือ ขิง ข่า ไพล กระทือ ขลู่ ขมื้น
สมุนไพรแมลง
1. ใช้สมุนไพรในการไล่แมลง
2. ใช้สมุนไพรในการฆ่าแมลง
3. ใช้สมุนไพรเป็นอาหารแมลง
4. ให้แมลงผสมเกสรกับพืชสมุนไพร
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
อนุทินที่1
แนะนำสมาชิกในกลุ่ม
- เด็กหญิงณัฐวดี คำปล้อง เลขที่ 21 ชั้น ม.2/1
- เด็กหญิงเมทินี รักษ์บัวทอง เลขที่ 29 ชั้น ม.2/1
- เด็กหญิงเจนจิรา เทพธานี เลขที่ 17 ชั้น ม.2/1
- เด็กหญิงณัฐวดี คำปล้อง เลขที่ 21 ชั้น ม.2/1
- เด็กหญิงเมทินี รักษ์บัวทอง เลขที่ 29 ชั้น ม.2/1
- เด็กหญิงเจนจิรา เทพธานี เลขที่ 17 ชั้น ม.2/1
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)